21 พ.ย.

อโกลนีมา อำนาจเจริญ Aglaonema sp. ‘Uanatcharoen’

วันที่บันทึกข้อมูล : 21 พ.ย. 2017 โดย : Editorial Team หมวดหมู่ : FAMILY ARACEAE

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 2021 เวลา 20:48:12 น. โดย Editorial Team

จำนวนการเข้าชมหน้านี้ 4,136 views

อโกลนีมา อำนาจเจริญ

ชื่อวิทยาศาสตร์: Aglaonema sp. ‘Uanatcharoen’

ชื่อสามัญ: Chinese Evergreen

ชื่ออื่น: –

วงศ์: ARACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้พุ่มขนาดเล็ก อายุหลายปี สูงประมาณ 28 เซนติเมตร

ใบ ใบเดี่ยว ตั้งตรง ใบล่างเอนและห้อยลง รูปไข่กว้างหรือรูปเกือบกลม ปลายแหลม ปลายสุดเป็นติ่งแหลม โคนมนหรือตัด ขอบใบเรียบ ใบหนาคล้ายแผ่นหนัง เป็นร่อง ค่อนข้างเรียบ เป็นมัน ด้านใต้ใบเป็นสันตามเส้นใบ ยาวประมาณ 16-21 เซนติเมตร กว้างประมาณ 11-15 เซนติเมตร ก้านใบกลมเป็นร่องสีชมพูอ่อน ยาว 5 เซนติเมตร กว้าง 0.4 เซนติเมตร ลิ้นใบสีชมูอ่อน ยาว 0.6 เซนติเมตร กว้าง 0.3 เซนติเมตร ค่อยๆแผ่กว้างไปตามความยาวของกาบใบ กาบใบสีชมพูอ่อนเป็นร่อง ยาว 7 เซนติเมตร กว้าง 0.7 เซนติเมตร ห่อหุ้มลำต้น แผ่นใบสีเขียวเข้ม มีแถบสีแดงใกล้เส้นกลางใบที่เป็นสีแดงเข้ม เส้นใบสีเขียวปนเทาเป็นแนวยาวตั้งแต่เส้นกลางใบจรดขอบใบ ใต้ใบสีคล้ายแผ่นใบแต่ชัดกว่า เส้นกลางใบด้านหลังสีชมพู เส้นกลางใบนูนเด่นชัดบริเวณโคนและค่อยๆเล็กลงจนสุดปลายใบ

ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบช่อเชิงลดมีกาบ ออกบริเวณซอกใบ ดอกสีขาว

ข้อมูลทั่วไป
มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนทั่วๆ ไป หรือบริเวณเส้นศูนย์สูตรของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่อินเดียลงไปจนถึงมาเลเซีย หมู่เกาะในประเทศอินโดนีเซีย ประเทศฟิลิปปินส์ ลาว เวียดนาม และจีนตอนใต้

การปลูกเลี้ยงและการใช้ประโยชน์
การปลูกเลี้ยง
ดินร่วนระบายน้ำดี ต้องการน้ำปริมาณมาก แสงแดดรำไร
การขยายพันธุ์
เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำลำต้น แยกหน่อ
การใช้ประโยชน์
ปลูกเป็นไม้กระถาง วางประดับในอาคาร เป็นไม้มงคล