04 ธ.ค.

ผกากรองด่าง Lantana camara L.

วันที่บันทึกข้อมูล : 04 ธ.ค. 2017 โดย : Editorial Team หมวดหมู่ : FAMILY VERBENACEAE

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 2021 เวลา 20:52:10 น. โดย Editorial Team

จำนวนการเข้าชมหน้านี้ 622 views

ผกากรองด่าง 

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Lantana camara L.

ชื่อสามัญ: –

ชื่ออื่น: ก้ามกุ้ง เบญจมาศป่า ขะจาย ตาปู มะจาย (แม่ฮ่องสอน) ขี้กา (ปราจีนบุรี) คำขี้ไก่ (เชียงใหม่) เบ็งละมาศ สาบแร้ง ยี่สุ่น (ตรัง) สามสิบ (จันทบุรี)

วงศ์: VERBENACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้พุ่มรอเลื้อย สูง 2-3 เมตร ลำต้นทรงสี่เหลี่ยม อาจมีหนามเล็กๆ ชี้ลง หรือไม่มีหนาม

ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปไข่ ปลายแหลม โคนสอบหรือมน ขอบหยักโค้งหรือหยักฟันเลื่อย สีเขียว ขอบใบมีขลิบสีเขียวอ่อนจนถึงขาว แผ่นใบด้านล่างปกคลุมด้วยขนละเอียด
ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจุกแน่น ที่บริเวณปลายยอด ดอกสีเหลือง ดอกสีส้ม ดอกสีชมพู ดอกสีขาว หรืออาจมีหลายสีผสมกันในช่อดอกเดียว ใบประดับรูปสามเหลี่ยมยาว กลีบเลี้ยงแบนบาง ยาว 1-2 มิลลิเมตร ขอบหยักเป็น 2 หยักตื้นๆ หยักเป็น 4 แฉก กว้าง 1-4 มิลลิเมตร ยาว 8-10 มิลลิเมตร กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแฉก 4-5 แฉก เกสรเพศผู้มีก้านสั้นมาก รังไข่รูปยาวรี ดอกมีกลิ่นฉุน

ผล ผลสีม่วง ดำ มีเนื้อผล ขนาดประมาณ 3-5 มิลลิเมตร

ข้อมูลทั่วไป มีถิ่นกำเนิดมาจากหมู่เกาะแคริบเบียน และกระจายพันธุ์มาสู่เขตร้อน และเขตอบอุ่น

การปลูกเลี้ยงและการใช้ประโยชน์

      การปลูกเลี้ยง

      ดินร่วนปนทราย แสงแดดเต็มวัน น้ำปานกลาง

      การขยายพันธุ์

      ปักชำยอด

      การใช้ประโยชน์

      ปลูกลงแปลงประดับสวน