06 ส.ค.

หม้อข้าวหม้อแกงลิง “แอมพลูลาเรีย” Nepenthes ampullaria Jack

วันที่บันทึกข้อมูล : 06 ส.ค. 2018 โดย : Editorial Staff หมวดหมู่ : FAMILY NEPENTHACEAE, FAMILY OCHNACEAE

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2021 เวลา 23:32:05 น. โดย Editorial Staff

จำนวนการเข้าชมหน้านี้ 1,861 views

405

หม้อข้าวหม้อแกงลิง “แอมพลูลาเรีย”

ชื่อวิทยาศาสตร์: Nepenthes ampullaria Jack

ชื่อสามัญ: Flask-Shaped Pitcher-Plant

ชื่ออื่น: ช่อหม้อแกง (ปัตตานี) บลางอกึกอ (มลายู ปัตตานี) หม้อแกงค่าง (ปัตตานี)

วงศ์: NEPENTHACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น พืชกินแมลง ไม้เลื้อยหรือเกาะกันเป็นพุ่มเล็กแน่น อาจยาวได้ถึง 10 เมตร

ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปแถบยาว โคนสอบ ขอบเรียบ แผ่นใบหนา มีขนนุ่มปกคลุมผิวใบ ปลายใบยืดยาวออกเป็นสาย เรียกว่า มือพัน หรือสายดิ่ง มือพันยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ส่วนปลายพองออกเป็นกระบอกดักเหยื่อหรือ “หม้อ” มี 2 ลักษณะตามอายุของพืช  1) หม้อค่อนข้างกลมหรือเป็นกระเปาะ สีน้ำตาลอมแดง หรือมีจุดประสีเขียว ส่วนใหญ่ปากหม้อหันเข้าหาสาย  2) หม้อบนมีขนาดเล็กมากหรือไม่มีให้เห็น ปากหันออกจากสายดิ่ง เมื่อต้นมีขนาดใหญ่มักมีหม้อผุดขึ้นที่โคนต้นและบริเวณไหล หม้อบนมีขนาดเล็กมากหรือไม่มีให้เห็น

ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะหรือช่อแยกแขนง ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้นกัน แต่ละแขนงย่อยมี 1-3 ดอก มีเฉพาะกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ช่อดอกเพศผู้มีขนาดใหญ่และมีจำนวนดอกมากกว่าช่อดอกเพศเมีย อับเรณูอยู่ส่วนปลาย เมื่อพร้อมผสมจะแตกออก 

ผล ฝักรูปรีเรียวยาว ฝักแก่มีสีน้ำตาลและแตกออกเป็น 4 พู ภายในมีเมล็ดเล็กๆ คล้ายเส้นด้ายประมาณ         50-500 เมล็ด

ข้อมูลทั่วไป

มีการกระจายพันธุ์ในภาคใต้ที่จังหวัดสงขลา สตูล ปัตตานี นราธิวาส ไปถึงมาเลเซีย สิงค์โปร์ เกาะบอร์เนียว   สุมาตรา นิวกินี

การปลูกเลี้ยงและการใช้ประโยชน์

การปลูกเลี้ยง

ดินร่วน วัสดุที่ระบายน้ำได้ดี ต้องการน้ำมาก แดดรำไร

การขยายพันธุ์

ปักชำ เพาะเมล็ด

การใช้ประโยชน์

ปลูกประดับเป็นไม้กระถาง ในภาคใต้นิยมนำส่วนที่เป็นหม้อมาทำขนมพื้นบ้าน เรียกว่า “ขนมข้าวเหนียวหม้อข้าวหม้อแกงลิง”