26 ก.ค.

เทพธาโร Cinnamomum parthenoxylon (Jack) Meisn.

วันที่บันทึกข้อมูล : 26 ก.ค. 2021 โดย : Editorial Team หมวดหมู่ : FAMILY LAURACEAE

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 26 ก.ค. 2021 เวลา 18:13:05 น. โดย Editorial Team

จำนวนการเข้าชมหน้านี้ 424 views

เทพธาโร

ชื่อวิทยาศาสตร์: Cinnamomum parthenoxylon (Jack) Meisn.

ชื่อสามัญ: Safrol laurel, Selasian wood

ชื่ออื่น: พลูต้นขาว เทพทาโร จวง จวงหอม ไม้จวง

วงศ์: LAURACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 30 เมตร แตกทรงพุ่มค่อนข้างแน่น สีน้ำตาล เนื้อไม้กลิ่นหอม

ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ กว้าง 3-6 เซนติเมตร ยาว 6-12 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนสอบ ขอบเรียบ

ดอก ช่อดอกแบบคล้ายช่อซี่ร่ม ออกตามซอกใบ ช่อดอกยาว 3.0-3.5 เซนติเมตร ดอกขนาดเล็ก กลีบดอก 6 กลีบ รูปเกือบกลม มีขนปกคลุมด้านในเล็กน้อย สีขาวอมเขียว ภายในดอกมีขนเล็กน้อย เกสรเพศผู้ 9 เกสร ก้านชูอับเรณูมีขนปกคลุมเล็กน้อย อับเรณูรูปไข่ ยาวประมาณ 0.7 มิลลิเมตร รังไข่รูปไข่ ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร

ผล ผลแบบผลมีเนื้อหนึ่งถึงหลายเมล็ด ฉ่ำน้ำทรงกลม สีดำ เส้นผ่านศูนย์กลาง 6-8 มิลลิเมตร

ข้อมูลทั่วไป

ในประเทศไทยพบทางภาคใต้ ในต่างประเทศพบที่จีนและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การปลูกเลี้ยงและการใช้ประโยชน์

          การปลูกเลี้ยง

          ดินทุกชนิด ต้องการน้ำมาก ชอบแดดร่มรำไร

          การขยายพันธุ์

          เพาะเมล็ด

          การใช้ประโยชน์

          เป็นพืชสมุนไพร มีสรรพคุณทางยา เนื้อไม้นิยมใช้ในการแกะสลักเป็นของเคารพบูชา ของประดับ ใช้งานก่อสร้าง ใช้ทำตู้ เตียง หีบ กันแมลงต่าง ๆ นิยมใช้แต่งกลิ่นอาหาร