05 ส.ค.

อบเชยไทย Cinnamomum bejolghota (Buch.-Ham.) Sweet

วันที่บันทึกข้อมูล : 05 ส.ค. 2018 โดย : Editorial Team หมวดหมู่ : FAMILY LAURACEAE

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2021 เวลา 23:33:17 น. โดย Editorial Team

จำนวนการเข้าชมหน้านี้ 3,015 views

903

อบเชยไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์: Cinnamomum bejolghota (Buch.-Ham.) Sweet

ชื่อสามัญ:

ชื่ออื่น: ขนุนมะแวง จวงดง (หนองคาย) เชียกใหญ่ (ตรัง) เฉียด บริแวง (ระนอง) ฝนแสนห่า สมุลแว้ง (นครศรีธรรมราช) พะแว โมงหอม มหาปราบ มหาปราบตัวผู้ (ภาคใต้) แลงแวง (ปัตตานี) ระแวง (ชลบุรี)

วงศ์: LAURACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง อายุหลายปี สูง 15-20 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เปลือกต้นสีเทาถึงสีเทาอมน้ำตาล

ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีถึงรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายแหลม โคนสอบเรียว ขอบเรียบ ใบหนาคล้ายแผ่นหนัง เกลี้ยง เป็นมัน แผ่นใบสีเขียวเข้ม มีเส้นแขนงออกจากโคนใบ 3 เส้น ใบอ่อนสีแดงถึงสีเขียวอ่อน ดอก ดอกเป็นช่อแบบช่อกระจุก ออกตามปลายกิ่ง ดอกสีเหลืองอ่อนถึงสีเขียวอ่อน ขนาดเล็ก ออกดอกช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม

ผล ผลขนาดเล็ก รูปไข่กลับ มีเมล็ดเดียว

ข้อมูลทั่วไป
เป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดระนอง

การปลูกเลี้ยงและการใช้ประโยชน์  

การปลูกเลี้ยง
ดินร่วน ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแสงแดดมาก

การขยายพันธุ์
เพาะเมล็ด

การใช้ประโยชน์
นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เนื้อไม้สามารถใช้ประโยชน์ได้ เปลือกชั้นในใช้เป็นเครื่องเทศ ให้กลิ่นหอม