คำแสด Mallotus philippensis (Lam.) Müll. Arg.
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 2022 เวลา 17:01:51 น. โดย Editorial Team
จำนวนการเข้าชมหน้านี้ 380 views
คำแสด
ชื่อวิทยาศาสตร์: Mallotus philippensis (Lam.) Müll. Arg.
ชื่อสามัญ: Monkey-faced tree
ชื่ออื่น: กายขัดหิน กือบอ ขางปอย ขี้เต่า ขี้เนื้อ คำแดง ชาตรีขาว ซาดป่า ซาบอเส่ ทองขาว ทองทวย แทงทวย พลับพลาขี้เต่า พลากลางใบใหญ่ มะกายคัด มะคาย มินยะมายา มือราแก้ปูเต๊ะ ลายตัวผู้ สากกะเบือละว้า แสด
วงศ์: EUPHORBIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น ไม้ต้น ไม้พุ่มกึ่งไม้ต้น สูง 4-10 เมตร ผิวลำต้นเป็นร่อง เปลือกสีน้ำตาลอมเทา กิ่งอ่อนมียางสีแดง
ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปหัวใจ กว้าง 9-12 เซนติเมตร ยาว 10-16 เซนติเมตร แผ่นใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ใต้ใบสีเทาถึงสีเขียวอมน้ำตาล
ดอก ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกสีม่วงอมชมพูถึงสีม่วง เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก สีชมพู ดอกมีกลิ่นหอม
ผล ผลแบบผลแห้งแตกผลรูปไข่ค่อนข้างแบน สีแดง ขนาด 7-9 มิลลิเมตร มีขนสั้นและต่อมขนาดเล็ก สีแดงหรือสีน้ำตาล คล้ายผลเงาะ เมื่อแก่ผลแห้งและแตกออกเป็น 2 ซีก เมล็ดรูปทรงรียาว ยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร สีดำ
ข้อมูลทั่วไป
ในประเทศไทยพบเกือบทุกภาค ในต่างประเทศพบที่ภูมิภาคเขตร้อนถึงตอนเหนือของออสเตรเลีย
การปลูกเลี้ยงและการใช้ประโยชน์
การปลูกเลี้ยง
ดินทุกชนิด ต้องการน้ำมาก ไม่ทนแล้งแดดจัด
ออกดอกตลอดทั้งปี
การขยายพันธุ์
เพาะเมล็ด
การใช้ประโยชน์
ใช้ย้อมสีผ้า ให้ร่มเงา