07 ส.ค.

มะหวด Lepisanthes rubiginosa (Roxb.) Leenh.

วันที่บันทึกข้อมูล : 07 ส.ค. 2018 โดย : Editorial Team หมวดหมู่ : FAMILY SAPINDACEAE

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2021 เวลา 23:29:40 น. โดย Editorial Team

จำนวนการเข้าชมหน้านี้ 596 views

996.

มะหวด

ชื่อวิทยาศาสตร์: Lepisanthes rubiginosa (Roxb.) Leenh.

ชื่อสามัญ: –

ชื่ออื่น: กะซำ กำจก กำซำ ชันรุ ซำ นำซำ มะจำ มะหวดบาท มะหวดป่า มะหวดลิง สีฮอกน้อย หวดค่า หวดฆ่า หวดลาว

วงศ์: SAPINDACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 10-15 เมตร ผลัดใบ เปลือกต้นสีน้ำตาล มีรอยแตกเป็นร่อง การแตกกิ่งก้านมาก

ใบ ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ เรียงเวียนสลับ ใบย่อย 3-6 คู่ รูปไข่หรือไข่กลับ กว้าง 5-10 เซนติเมตร ยาว 10-20 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนสอบ ขอบเป็นคลื่น แผ่นใบบาง มีขนปกคลุม ด้านบนสีเขียว ใต้ใบสีเขียวอ่อน เส้นกลางใบลักษณะร่องตื้น

ดอก ดอกเป็นช่อแบบแยกแขนง ออกตามซอกใบหรือปลายกิ่ง ยาว 30-50 เซนติเมตร ดอกสีขาวหรือดอกสีเหลืองอ่อน มี 20-30 ดอก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปครึ่งวงกลม สีเขียว กลีบดอก 4-5 กลีบ รูปครึ่งวงกลม สีขาวหรือเหลืองอ่อน เกสรเพศผู้ 8 เกสร เกสรเพศเมีย 1 เกสร มีกลิ่นหอมอ่อน ออกดอกเดือนมกราคม-มีนาคม

ผล ผลสดมีเนื้อ ทรงรีเว้าเป็นพู ยาว 1-2 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีแดง ม่วง

ข้อมูลทั่วไป

กระจายพันธุ์ในพื้นที่ประเทศอินเดีย จีนตอนใต้ ออสเตรเลีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การปลูกเลี้ยงและการใช้ประโยชน์

      การปลูกเลี้ยง

      ดินทุกชนิด ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดจัด

      การขยายพันธุ์

      เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง

      การใช้ประโยชน์

      ใบอ่อนและผลรับประทานได้ ปลูกประดับสวน