02 ส.ค.

หม้อข้าวหม้อแกงลิง “มิราบิลิส” Nepenthes ampullaria Jack

วันที่บันทึกข้อมูล : 02 ส.ค. 2018 โดย : Editorial Team หมวดหมู่ : FAMILY NEPENTHACEAE

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 2021 เวลา 20:54:33 น. โดย Editorial Team

จำนวนการเข้าชมหน้านี้ 1,148 views

หม้อข้าวหม้อแกงลิง “มิราบิลิส”

ชื่อวิทยาศาสตร์: Nepenthes ampullaria Jack

ชื่อสามัญ: Fanged Pitcher-Plant

ชื่ออื่น:  เขนงนายพราน กระบอกน้ำนายพราน ลึงค์นายพราน หม้อข้าวหม้อแกงลิง หม้อข้าวลิง และเหน่งนายพราน

วงศ์: NEPENTHACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น พืชกินแมลง เลื้อยหรือเกาะกันเป็นพุ่มเล็กแน่น

ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปไข่หรือรูปใบหอก กว้างประมาณ 7 เซนติเมตร ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ใบอ่อนขอบใบจักฟันเลื่อย แผ่นใบค่อนข้างบาง เส้นกลางใบนูนเป็นสันแข็ง ปลายใบยืดยาวออกเป็นสาย เรียกว่า มือพัน หรือสายดิ่ง ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ส่วนปลายพองออกเป็นกระบอกดักเหยื่อหรือ “หม้อ”  มี 2 ลักษณะตามอายุของพืช 1) หม้อล่างมีลักษณะยาว สีเขียวอ่อน ก้นหม้อเป็นกระเปาะ มีเอวช่วง 1 ใน 3 จากก้น ด้านบนทรงกระบอก สูงประมาณ 20 เซนติเมตร กว้างประมาณ 4 เซนติเมตร  มีครีบ 1 คู่ ขอบปากถึงก้นหม้อ ต่อมผลิตน้ำย่อยอยู่บริเวณก้นหม้อที่เป็นกระเปาะ ปากหม้อกลม ขนานกับพื้นหรือเฉียง ไม่มีเดือยใต้ฝา มีเดือย 1-2 เดือยที่ฐานด้านหลัง ปากหม้อมักหันเข้าหาสายดิ่ง 2) หม้อบน สายดิ่งจะม้วนเป็นมือเกาะเพื่อหาหลักยึดพยุงลำต้น ส่วนหม้อยืดออกเป็นรูปกรวย ก้นแหลม ปากหันออกจากสายดิ่ง

ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะ ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้นกัน ช่อดอกยาวประมาณ 30 เซนติเมตร แต่ละแขนงย่อยมี 1-3 ดอก มีเฉพาะกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ช่อดอกเพศผู้มีขนาดใหญ่และมีจำนวนดอกมากกว่าช่อดอกเพศเมีย ออกดอกช่วงเดือนมิถุนายน-กุมภาพันธ์

ผล ฝักรูปรีเรียวยาว ฝักแก่มีสีน้ำตาลและแตกออกเป็น 4 พู ภายในมีเมล็ดเล็กๆ คล้ายเส้นด้ายประมาณ         50-500 เมล็ด

ข้อมูลทั่วไป

มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกาะนิวกินี ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง มาเก๊า ในเมืองไทยพบทั้งภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

การปลูกเลี้ยงและการใช้ประโยชน์

      การปลูกเลี้ยง                                      

      ดินร่วน วัสดุที่ระบายน้ำได้ดี ต้องการน้ำมาก ชอบแดดรำไร

      การขยายพันธุ์

      การปักชำ เพาะเมล็ด

      การใช้ประโยชน์