27 ธ.ค.

หมากผู้หมากเมีย เพชรน้ำหนึ่ง Cordyline fruticosa (L.) A.Chev. ‘Phetnamnueng’

วันที่บันทึกข้อมูล : 27 ธ.ค. 2017 โดย : Editorial Team หมวดหมู่ : FAMILY ASPARAGACEAE

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 2021 เวลา 20:51:29 น. โดย Editorial Team

จำนวนการเข้าชมหน้านี้ 3,524 views

หมากผู้หมากเมีย เพชรน้ำหนึ่ง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Cordyline fruticosa (L.) A.Chev. ‘Phetnamnueng’

ชื่อสามัญ: Cordyline, Ti plant, Dracaena Palm

ชื่ออื่น: –

วงศ์: ASPARAGACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้พุ่มขนาดกลาง อายุหลายปี ลำต้นรูปทรงกระบอกยาว แตกเป็นกอ มีเนื้อไม้เมื่อต้นมีอายุมากขึ้น สูงประมาณ 33 เซนติเมตร

ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียน ใบตั้งขึ้น ใบล่างโค้งลง รูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ปลายเรียวแหลม โคนสอบแคบ  ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่น ใบเป็นร่องละเอียด ยาว 19-23 เซนติเมตร กว้าง 3-5 เซนติเมตร ขอบใบสีชมพูบานเย็น แผ่นใบสีเขียว เส้นกลางใบสีเขียวที่บริเวณโคนใบและสีชมพูบานเย็นที่บริเวณกลางถึงปลายใบ ก้านใบแผ่เป็นกาบ มีร่อง สีแดงอมม่วง ยาว 7-9 เซนติเมตร กว้าง 0.5-1 เซนติเมตร บริเวณโคนก้านใบห่อหุ้มลำต้น

ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบช่อเชิงลด ออกดอกบริเวณปลายยอด ดอกสีชมพูหรือม่วง ขนาดเล็ก

ข้อมูลทั่วไป
มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนทั่วๆ ไป เช่น อินเดีย ไทย มาเลเซีย

การปลูกเลี้ยงและการใช้ประโยชน์
การปลูกเลี้ยง
ดินร่วนซุยระบายน้ำได้ดี ต้องการน้ำปริมาณมาก แสงแดดปานกลางถึงรำไร
การขยายพันธุ์
เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ แยกเหง้า
การใช้ประโยชน์
ปลูกเป็นไม้ประดับ เป็นไม้มงคล นิยมปลูกทั้งในสวนและปลูกเป็นไม้กระถาง