กันเกราด่าง Cyrtophyllum fragrans (Roxb.) DC.
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 2021 เวลา 20:31:52 น. โดย Editorial Team
จำนวนการเข้าชมหน้านี้ 1,114 views
กันเกราด่าง
ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyrtophyllum fragrans (Roxb.) DC.
ชื่อสามัญ: Tembesu
ชื่ออื่น: ตะมะซู ตาเตรา ตำมูซู ตำเสา ทำเสา มันปลา
วงศ์: GENTIANACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น ไม้ต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สูง 20-30 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลเข้ม ผิวหยาบ แตกเป็นร่องลึก
ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีหรือรูปรีแกมรูปใบหอก กว้าง 2.4-3.8 เซนติเมตร ยาว 8-10 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลม โคนสอบ ขอบเรียบ ใบสีเขียว ในต้นด่างมีรอยด่าง ขาวซีดกับกับเหลืองอ่อน
ดอก ดอกช่อ ช่อดอกแบบคล้ายช่อซี่ร่ม ออกตามซอกใบ ดอกสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีนวลอมแสด มีกลิ่นหอม กลีบดอกโคนเชื่อมติดกัน เป็นรูปถ้วย ปลายแฉก 5 แฉก รูปไข่ เกสรเพศผู้และเพศเมีย รูปคล้ายเส้นด้าย สีขาวนวลถึงเหลืองอ่อน
ผล ผลแบบผลมีเนื้อ หนึ่งถึงหลายเมล็ด ทรงกลม เล็ก ผลแก่จัด สีเหลืองจนถึงสีแดงเลือดนก ภายในมีเมล็ดขนาด
ข้อมูลทั่วไป
ในประเทศไทยพบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคใต้ ในต่างประเทศพบที่อินเดีย เมียนมา มาเลเซีย อินโดนีเซีย ภูมิภาคอินโดจีนและนิวกินี
การปลูกเลี้ยงและการใช้ประโยชน์
การปลูกเลี้ยง
ดินทุกชนิด ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดจัด
ออกดอกช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม
การขยายพันธุ์
เพาะเมล็ด ปักชำ
การใช้ประโยชน์
ปลูกให้ร่มเงา เป็นไม้มงคล มีสรรพคุณทางยา