07 ส.ค.

เจตมูลเพลิงแดง Plumbago indica L.

วันที่บันทึกข้อมูล : 07 ส.ค. 2018 โดย : Editorial Team หมวดหมู่ : FAMILY PLUMBAGINACEAE

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2021 เวลา 23:30:40 น. โดย Editorial Team

จำนวนการเข้าชมหน้านี้ 441 views

894

เจตมูลเพลิงแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Plumbago indica L.

ชื่อสามัญ: Indian leadwort, Rosy-flowered leadwort, Scarlet leadwort

ชื่ออื่น: คุยวู่ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ตั้งชู้โว้ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ปิดปิวแดง (ภาคเหนือ) ไฟใต้ดิน อุบะกูจ๊ะ (มลายู-ปัตตานี)

วงศ์: PLUMBAGINACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้ล้มลุกถึงไม้พุ่มขนาดเล็ก อายุหลายปี สูง 1-3 เมตร กิ่งก้านทอดยาว

ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 8-13 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนมน ขอบเป็นคลื่น ใบหนาคล้ายแผ่นหนัง เกลี้ยง เป็นมัน แผ่นใบสีเขียว ใบอ่อนสีแดง ก้านใบและเส้นกลางใบสีแดง

ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะเชิงลด ออกที่ปลายกิ่ง ตั้งขึ้น ดอกย่อยประมาณ 10-15 ดอก ดอกสีแดง ใบประดับและใบประดับย่อยรูปไข่ กลีบเลี้ยงรูปใบหอก 5 กลีบ มีขนปกคลุมและน้ำเหนียวเคลือบ โคนกลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด ยาว 2.5-3.5 เซนติเมตร ปลายแยก 5 แฉก รูปไข่กลับ ปลายมนและมีติ่งหนาม เกสรเพศผู้ 5 เกสร

ข้อมูลทั่วไป

กระจายพันธุ์อยู่ในเกือบทุกภาคของประเทศไทย สามารถพบได้ตามป่าดงดิบ ป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณ

การปลูกเลี้ยงและการใช้ประโยชน์

การปลูกเลี้ยง

ดินร่วน ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง แสงแดดปานกลาง

การขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง

การใช้ประโยชน์

นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ มีสรรพคุณทางยา