05 ส.ค.

เฟินใบหัวใจ Parahemionitis cordata (Hook. & Grev.) Fraser-Jenk.

วันที่บันทึกข้อมูล : 05 ส.ค. 2018 โดย : Editorial Team หมวดหมู่ : Subfam. Cheilanthoideae

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 2021 เวลา 20:57:51 น. โดย Editorial Team

จำนวนการเข้าชมหน้านี้ 1,302 views

811

เฟินใบหัวใจ

ชื่อวิทยาศาสตร์: Parahemionitis cordata (Hook. & Grev.) Fraser-Jenk.

ชื่อสามัญ:

ชื่ออื่น: เฟินใบบัว กูดใบบอน กูดใบบัว กูดลูกศร (ชลบุรี) ลิ้นวัว ปักเป้า ใบหัวใจ

วงศ์: PTERIDACEAE Subfam. Cheilanthoideae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น พืชจำพวกเฟินดิน หรือเฟินเกาะหิน ลำต้นเป็นเหง้าสั้นกึ่งตั้งตรง ปกคลุมด้วยเกล็ด

เกล็ด รูปแถบ ยาว 2-3 มิลลิเมตร ขอบเรียบ สีน้ำตาล

ใบ ใบเดี่ยว แบ่งเป็น 2 แบบ ใบไม่สร้างสปอร์ รูปไข่หรือรูปขอบขนาน กว้างประมาณ 4 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร ปลายกลมมน โคนรูปหัวใจ ขอบเรียบ แผ่นใบสีเขียว ด้านใต้ใบมีเกล็ดและขน แผ่นใบค่อนข้างบางคล้ายแผ่นกระดาษ เส้นกลางใบนูนขึ้นเห็นเด่นชัด ใต้ใบเส้นใบย่อยเป็นช่องร่างแหเห็นไม่ชัดเจน ก้านสีน้ำตาลอมแดงถึงเกือบดำ ยาวประมาณ 8 เซนติเมตร ด้านบนเป็นร่อง มีเกล็ดและขนปกคลุมทั่วไป ใบสร้างสปอร์ รูปใบหอก กว้างประมาณ 3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5 เซนติเมตร ปลายค่อนข้างแหลม โคนหยักลึกรูปหัวใจ เกิดเป็นพูรูปสามเหลี่ยม ปลายค่อนข้างแหลม ขอบเรียบ เนื้อใบบางกว่าใบไม่สร้างสปอร์ ก้านใบยาวประมาณ 20 เซนติเมตร

กลุ่มอับสปอร์ เกิดเป็นเส้นตามแนวเส้นใบย่อย รูปตาข่ายทั่วทั้งด้านใต้แผ่นใบ ไม่มีเยื่อคลุม

ข้อมูลทั่วไป
พบตามป่าดิบชื้นหรือป่าดิบแล้ง มักขึ้นเกาะบนหิน ตามซอกหินบริเวณที่ได้รับแสงปานกลางถึงมาก ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 600 เมตร ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค

การปลูกเลี้ยงและการใช้ประโยชน์
การปลูกเลี้ยง
วัสดุปลูกที่ระบายน้ำได้ดี มีอินทรียวัตถุสูง ต้องการน้ำปริมาณปานกลาง แสงแดดปานกลางถึงมาก อาจจะพักตัวในหน้าแล้ง

          การขยายพันธุ์
เพาะสปอร์

          การใช้ประโยชน์
เป็นไม้กระถาง