07 ส.ค.

ไคร้ย้อย Elaeocarpus grandiflorus Sm.

วันที่บันทึกข้อมูล : 07 ส.ค. 2018 โดย : Editorial Team หมวดหมู่ : FAMILY ELAEOCARPACEAE

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2021 เวลา 23:29:39 น. โดย Editorial Team

จำนวนการเข้าชมหน้านี้ 1,497 views

776

ไคร้ย้อย

ชื่อวิทยาศาสตร์: Elaeocarpus grandiflorus Sm.

ชื่อสามัญ: Fairy petticoats, Lily of the valley

ชื่ออื่น: กาบพร้าว (นราธิวาส) คล้ายสองหู (สุราษฎ์ธานี) จิก ดอกปีใหม่ (กาญจนบุรี) แต้วน้ำ (บุรีรัมย์) ปูมปา (เลย) ผีหน่าย (สุราษฎ์ธานี) มุ่นน้ำ (เพชรบุรี) สารภีน้ำ (เชียงใหม่) อะโน (ปัตตานี)

วงศ์: ELAEOCARPACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 10 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดค่อนข้างกลม เปลือกเรียบหรือหยาบเล็กน้อย สีน้ำตาลปนเทา

ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปรีถึงรูปใบหอก กว้าง 1-1.5 เซติเมตร ยาว 7-15 เซนติเมตร ปลายแหลมทู่ โคนสอบแคบ ขอบหยักถี่ ใบหนาคล้ายแผ่นหนัง แผ่นใบด้านบนเกลี้ยง เป็นมัน ด้านล่างมีขนประปราย สีเขียวเข้ม เส้นกลางใบชัดเจน ก้านใบยาว 0.5-4 เซนติเมตร

ดอก ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะ ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ห้อยลง ดอกตูมสีน้ำตาลปนแดง ดอกบานสีขาวนวล กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปใบหอกสีขาวอมเหลือง กลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่กลับมีขนประปรายทั้งสองด้าน โคนกลีบดอกด้านมีกลุ่มขนเรียงตัวเป็นสองแถว ปลายกลีบเป็นริ้วฝอย รังไข่ป้อม มีขนสั้นปกคลุมแน่น มีกลิ่นหอม

ผล ผลรูปทรงกระสวยหรือรูปรี ผิวผบางเรียบ เกลี้ยง สีเขียว มีเมล็ดรูปกระสวย

ข้อมูลทั่วไป

มีถิ่นกำเนิดในเอเชียเขตร้อน พบตามป่าโปร่งและป่าเบญจพรรณทั่วทุกภาคของไทย ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 50-800 เมตร

การปลูกเลี้ยงและการใช้ประโยชน์ 

การปลูกเลี้ยง

ดินร่วน ต้องการน้ำปริมาณมาก แสงแดดมาก

การขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ

การใช้ประโยชน์

นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ