ปีบทอง Radermachera hainanensis Merr.
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2021 เวลา 23:32:04 น. โดย Editorial Team
จำนวนการเข้าชมหน้านี้ 1,866 views
775
ปีบทอง
ชื่อวิทยาศาสตร์: Radermachera hainanensis Merr.
ชื่อสามัญ:
ชื่ออื่น: กากี จางจืด (ชัยภูมิ) อังเกียลโบ๊ะ (เขมร จันทบุรี)
วงศ์: BIGNONIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น ไม้ยืนต้น อายุหลายปี สูงได้ถึง 15 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม เปลือกต้นสีเทาเข้ม
ใบ ใบประกอบแบบขนนก 2-3 ชั้น ยาว 20-40 เซนติเมตร ใบย่อยรูปไข่ถึงรูปขอบขนานแกมรูปไข่ อาจเบี้ยว ยาว 4-10 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลม โคนสอบ ขอบเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบหนา เกลี้ยง เป็นมัน แผ่นใบด้านบนสีเขียว แผ่นใบด้านล่างสีอ่อนกว่า
ดอก ดอกเป็นช่อแบบช่อกระจุกสั้น ๆ คล้ายช่อกระจะ ออกตามกิ่งหรือปลายกิ่ง ดอกสีเหลือง รูประฆัง โคนกลีบเลี้ยงเชื่อมิดกันเป็นหลอด ปากกว้าง สีน้ำตาลแดง โคนกลีบดอกเชื่อมกัน รูปแตร ปลายม้วนงอออกด้านนอก โคนก้านชูอับเรณูมีต่อมขน เกสรเพศผู้มีจำนวน 4 เกสร ดอกบานไม่พร้อมกัน
ข้อมูลทั่วไป
พบที่จีนตอนใต้ ลาว กัมพูชา ในไทยพบแทบทุกภาค ขึ้นตามริมแหล่งน้ำในป่าดิบแล้ง ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 100-600 เมตร
การปลูกเลี้ยงและการใช้ประโยชน์
การปลูกเลี้ยง
ดินร่วนปนทราย ต้องการน้ำปริมาณปานกลาง แสงแดดมาก
การขยายพันธุ์
เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ แยกหน่อ
การใช้ประโยชน์
นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ใช้เป็นสมุนไพร ดอกสามารถรับประทานได้และสามารถนำไปทำสีย้อมผ้าได้