06 ก.ค.

ทองกวาว Butea monosperma (Lam.) Taub.

วันที่บันทึกข้อมูล : 06 ก.ค. 2017 โดย : Editorial Team หมวดหมู่ : FAMILY LEGUMINOSAE

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 2021 เวลา 20:33:00 น. โดย Editorial Team

จำนวนการเข้าชมหน้านี้ 4,040 views

ทองกวาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Butea monosperma (Lam.) Taub.

ชื่อสามัญ : Bastard teak, Bengal kino, Kino tree, Flame of the forest

ชื่ออื่น : กวาว ก๋าว จอมทอง จ้า จาน ทองธรรมชาติ ทองต้น

วงศ์ : LEGUMINOSAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ยืนต้น สูง 12-18 เมตร เปลือกต้นเป็นปุ่มปม สีน้ำตาลอ่อน การแตกกิ่งก้านทิศทางไม่เป็นระเบียบ กิ่งอ่อนมีขนละเอียดหนา

ใบ ใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบเรียงสลับ ใบย่อยที่ปลายเป็นรูปไข่แกมสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ขนาดใหญ่สุด ส่วนใบย่อยด้านข้างจะเป็นรูปไม่เบี้ยว มีขอบใบเรียบ โคนเบี้ยว ปลายมน

ดอก ออกเป็นช่อ ตามกิ่งเหนือรอยแผลใบและตามปลายกิ่ง ดอกสีแสด ฐานรองดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ลักษณะเป็นดอกถั่วขนาดใหญ่มี 5 กลีบ แบ่งเป็นกลีบกลาง 1 กลีบ กลีบคู่ข้าง 2 กลีบแยกออกทั้ง 2 ข้าง และกลีบคู่ล่าง ที่เชื่อมติดกัน 2 กลีบ เกสรผู้ 10 เกสร แยกเป็นอิสระ 1 เกสร อีก 9 เกสร โคนก้านเชื่อมติดกันเป็นหลอด

ข้อมูลทั่วไป

มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียใต้ จากประเทศไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย ศรีลังกา เนปาล บังกลาเทศ ปากีสถาน อินเดีย และในแถบทางภาคตะวันตกของอินโดนีเซีย

การปลูกเลี้ยงและการใช้ประโยชน์

      การปลูกเลี้ยง

      ดินทุกชนิด ต้องการน้ำน้อยถึงปานกลาง แสงแดดจัด

      การขยายพันธุ์

      เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง

      การใช้ประโยชน์

      ปลูกเป็นไม้ประดับ ดอกใช้ย้อมสีผ้าจะให้สีแดง