06 ส.ค.

พะยูง Dalbergia cochinchinensis Pierre

วันที่บันทึกข้อมูล : 06 ส.ค. 2018 โดย : Editorial Team หมวดหมู่ : FAMILY FABACEAE

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2021 เวลา 23:32:05 น. โดย Editorial Team

จำนวนการเข้าชมหน้านี้ 3,334 views

759

พะยูง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Dalbergia cochinchinensis Pierre

ชื่อสามัญ: Siamese rosewood

ชื่ออื่น: กระยง กระยุง (เขมร สุรินทร์)  ขะยุง (อุบลราชธานี) แดงจีน (ปราจีนบุรี) ประดู่ตม ประดู่น้ำ (จันทรบุรี) ประดู่ลาย (ชลบุรี) ประดู่เสน (ตราด) พะยูงไหม (สระบุรี) หัวลีเมาะ (จีน)

วงศ์: FABACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ อายุหลายปี สูงประมาณ 15-25 เมตร เรือนยอดกลมหรือรูปไข่ กิ่งก้านมักห้อยลง เปลือกต้นเรียบหรือแตกเป็นแผ่น สีเทาหรือสีน้ำตาลแดง

ใบ  ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อย มี 7-9 ใบ รูปไข่แกมรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ปลายแหลม โคนมนหรือสอบ ขอบเรียบ ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม ใต้ใบสีซีดกว่า เส้นกลางใบสีเขียวอ่อน

ดอก ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนง ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกสีขาว ขนาดเล็ก กลีบเลี้ยงรูปถ้วย ปลายแยก 5 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ

ผล ผลแบบฝักแห้งไม่แตก รูปขอบขนาน แบนบาง ฝักแก่สีน้ำตาล มี 1-4 เมล็ด รูปไต

ข้อมูลทั่วไป
พบขึ้นในป่าดิบแล้งและป่า เบญจพรรณชื้นทั่วไป จัดเป็นไม้หวงห้ามธรรมดาประเภท ก.

การปลูกเลี้ยงและการใช้ประโยชน์

การปลูกเลี้ยง
ดินร่วน ต้องการน้ำปริมาณปานกลาง แสงแดดมาก

การขยายพันธุ์
เพาะเมล็ด

การใช้ประโยชน์
นิยมใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้ เนื่องจากมีสีสันที่สวยงาม สามารถปลูกเป็นไม้ประดับ ใช้เป็นสมุนไพร และเลี้ยงครั่ง