16 มี.ค.

มะขามเทศด่าง Pithecellobium dulce (Roxb.) Benth.

วันที่บันทึกข้อมูล : 16 มี.ค. 2018 โดย : Editorial Team หมวดหมู่ : FAMILY FABACEAE

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 2021 เวลา 20:33:51 น. โดย Editorial Team

จำนวนการเข้าชมหน้านี้ 3,602 views

มะขามเทศด่าง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Pithecellobium dulce (Roxb.) Benth.

ชื่อสามัญ: Manila Tamarind, Madras Thorn

ชื่ออื่น: –

วงศ์: FABACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง สีน้ำตาลอ่อน มีหนามสั้น แตกกิ่งก้านค่อนข้างแน่น

ใบ ใบประกอบแบบขนนก เรียงตรงข้าม ใบย่อยแตกเป็น 2 แฉก รูปไข่ถึงรูปรี ปลายมน โคนสอบเบี้ยว ขอบเรียบ ผิวใบด้านบนสีขาวมีประด่างสีเขียวอมเหลือง ใบอ่อนสีชมพูหรือขาว มีประด่างสีเขียวอมเหลือง

ดอก ดอกเดี่ยวหรือช่อแบบช่อกระจะ ออกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกตูมสีเขียวอมเหลืองคล้ายตุ่ม กลีบเลี้ยงสีเขียวโคนแต้มชมพู ปลายแหลม โคนมน กลีบดอกคล้ายกลีบเลี้ยง สีเขียว เชื่อมติดกัน ปลายกลีบแหลมโค้งงอออกเล็กน้อย เกสรเพศผู้จำนวนมากแผ่กระจายออกเมื่อดอกบาน ก้านชูอับเรณูสีขาว อับเรณูสีเขียว เกสรเพศเมีย 1 เกสร สีชมพู ยาวกว่าเกสรเพศผู้

ข้อมูลทั่วไป

เป็นพันธุ์ไม้ต่างประเทศ มีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกากลาง

การปลูกเลี้ยงและการใช้ประโยชน์

      การปลูกเลี้ยง

      ดินทุกชนิด ต้องการน้ำน้อย ทนแล้งและดินเค็มได้ดี แสงแดดจัด

      การขยายพันธุ์

      ปักชำ ตอนกิ่ง

      การใช้ประโยชน์

      ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป