เฟินกูดน้ำ Acrostichum aureum L.
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 2021 เวลา 20:51:33 น. โดย Editorial Team
จำนวนการเข้าชมหน้านี้ 1,393 views
เฟินกูดน้ำ
ชื่อวิทยาศาสตร์: Acrostichum aureum L.
ชื่อสามัญ: Leather fern, Swamp fern
ชื่ออื่น: ปรงไข่ กูดน้ำปรงทะเล ปรงแดง (สมุทรสาคร) แสม (ใต้) ผักชล (อีสาน) ปรงทอง ปรงใหญ่ บีโย (มลายู-สตูล)
วงศ์: PTERIDACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น พืชจำพวกเฟิน ลำต้นแตกเป็นกอเหนือดิน ลำต้นใต้ดินเป็นเหง้าแข็งรากฝอยแตกจากลำต้นใต้ดิน
ใบ ใบมี 2 แบบ คือ ใบเดี่ยวเป็นใบที่เกิดในระยะแรก สีเขียว รูปไข่แกมรูปขอบขนาน และใบประกอบขนนกปลายคี่ เกิดภายหลัง โคนก้านใบมีเกล็ดบางๆ สีน้ำตาลคลุม ใบประกอบยาว 1.2-2.7 เซนติเมตร ใบหนึ่งประกอบด้วยใบย่อย 15-30 ใบ เรียงสลับ ใบย่อยมี 2 ชนิด คือใบย่อยตอนล่างไม่สร้างสปอร์ รูปใบหอกแกมขอบขนาน ปลายโค้งมน กว้าง 2-4 เซนติเมตร ยาว 3-15 เซนติเมตร ส่วนใบที่อยู่ตอนบน เป็นใบที่สร้างสปอร์ มีขนาดเล็กกว่า หลังแผ่นใบมีอับสปอร์ติดอยู่เต็มใบ
ข้อมูลทั่วไป
จะพบมากในป่าชายเลนและพื้นที่ชุ่มน้ำแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การปลูกเลี้ยงและการใช้ประโยชน์
การปลูกเลี้ยง
ชอบดินที่ชุ่มชื้นมีความชื้นสูงและมีอินทรีย์วัตถุมาก แดดจัด ทนดินเค็ม
การขยายพันธุ์
เพาะสปอร์
การใช้ประโยชน์
ปลูกประดับสวน ริมน้ำ