ตะโกนา Diospyros rhodocalyx Kurz
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2021 เวลา 23:33:15 น. โดย Editorial Team
จำนวนการเข้าชมหน้านี้ 2,079 views
686
ตะโกนา
ชื่อวิทยาศาสตร์: Diospyros rhodocalyx Kurz
ชื่อสามัญ: Ebony
ชื่ออื่น: โก (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) นมงัว (นครราชสีมา) มะโก (ภาคเหนือ) มะถ่านไฟผี (เชียงใหม่)
วงศ์: EBENACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น ไม้ยืนต้น อายุหลายปี สูงได้ถึง 15 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลเข้มถึงดำ กิ่งมีขนสีน้ำตาลปกคลุม
ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่กลับถึงรูปรี กว้าง 2.5-7 เซนติเมตร ยาว 3-12 เซนติเมตร ปลายมน โคนรูปลิ่ม มน หรือตัด ขอบเรียบถึงเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ผิวเกลี้ยง เป็นมัน แผ่นใบสีเขียวเข้ม ผิวใบด้านใต้มีขน ใบอ่อนสีเขียวอมน้ำตาล
ดอก ดอกแยกเพศ ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุก มีขนาดเล็กกว่าดอกเพศเมีย เกสรเพศผู้ 14-16 เกสร รังไข่ไม่เจริญ มีขนสั้นนุ่ม ดอกเพศเมีย เป็นดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูประฆังปลายแยกเป็นรูปสามเหลี่ยม กลีบดอกรูปไข่ถึงรูปคนโท ปลายแยกเป็น 4 แฉก ขอบกลีบเกยซ้อนกันหนา เกสรเพศผู้เป็นหมัน 8-11 เกสร รังไข่เหนือวงกลีบ รูปไข่ มีขน ออกดอกช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนกรกฎาคม
ผล ผลทรงกลม สีส้มอมแดง เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-3 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงติดแน่นที่ขั้ว ผลอ่อนมีขนสีน้ำตาลคลุม ผลสุกเกลี้ยงสีเหลือง
ข้อมูลทั่วไป
พบกระจายพันธุ์ในประเทศพม่าจนถึงภูมิภาคอินโดจีน ในประเทศไทยพบทุกภาค
การปลูกเลี้ยงและการใช้ประโยชน์
การปลูกเลี้ยง
ดินร่วน ต้องการน้ำปานกลาง แสงแดดปานกลางถึงแดดจัด
การขยายพันธุ์
เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง
การใช้ประโยชน์
ปลูกเป็นไม้ประดับ ทำไม้ดัด ผลอ่อนใช้ย้อมผ้าสีดำ