04 ธ.ค.

ราชพฤกษ์ (เหลือง) Cassia fistula L.

วันที่บันทึกข้อมูล : 04 ธ.ค. 2017 โดย : Editorial Team หมวดหมู่ : FAMILY FABACEAE

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 2021 เวลา 20:51:30 น. โดย Editorial Team

จำนวนการเข้าชมหน้านี้ 1,697 views

ราชพฤกษ์ (เหลือง)

ชื่อวิทยาศาสตร์: Cassia fistula L.

ชื่อสามัญ: Pudding-pine tree, Indian laburnum, Golden shower, Purging Cassia

ชื่ออื่น: คูน ลมแล้ง ชัยพฤกษ์

วงศ์: FABACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้ยืนต้น สูง 9-15 เมตร ลำต้นตั้งตรง เปลือกสีน้ำตาลอมเทา มีรอยแตกขนาดใหญ่

ใบ ใบประกอบแบบขนนก เรียกตรงข้าม รูปไข่หรือรูปหอกกว้าง ปลายแหลม โคนมน ของเรียบ ใบค่อนข้างหนา

ดอก เป็นช่อแบบช่อกระจะ ออกตามซอกใบหรือปลายกิ่ง ช่อดอกห้อยระย้าลง ดอกสีเหลือง ช่อดอกยาว 20-45 เซนติเมตร กลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่เกือบกลม มีก้านกลีบ เกสรเพศผู้ 10 เกสร ยาวไม่เท่ากัน ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกดอกระหว่างเดือนกุมภาพันธุ์ถึงเดือนพฤษภาคม

ผล เป็นฝักรูปทรงกระบอก ฝักแก่สีน้ำตาลเข้มเกือบดำหรือดำ เมล็ดรูปมนแบนสีน้ำตาลเป็นมัน มี 1 เมล็ด ใน 1 ช่อง

ข้อมูลทั่วไป

      มีถิ่นกำเนิดแถบเอเชียเขตร้อน โดยเฉพาะประเทศอินเดีย พบได้ทุกภาคในประเทศไทย 

การปลูกเลี้ยงและการใช้ประโยชน์

      การปลูกเลี้ยง

          ดินร่วนระบายน้ำดี ต้องการน้ำปริมาณมาก แสงแดดรำไร-เต็มวัน
การขยายพันธุ์
เพาะเมล็ด

          การใช้ประโยชน์
เนื้อในฝักคูณแก้อาการท้องผูก ไม้ราชพฤกษ์ใช้ในพิธีลงเสาหลักเมืองและอื่นๆ