พุดด่าง Tabernaemontana divaricata (L.) R.Br. ex Roem. & Schult. ‘Grandifolia’
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 2021 เวลา 20:32:57 น. โดย Editorial Team
จำนวนการเข้าชมหน้านี้ 4,472 views
พุดด่าง
ชื่อวิทยาศาสตร์: Tabernaemontana divaricata (L.) R.Br. ex Roem. & Schult. ‘Grandifolia’
ชื่อสามัญ: Clavel de la India, Cape jasmine, East Indian rosebay
ชื่ออื่น: พุดฝรั่งด่าง พุดตูม มะลิฝรั่ง
วงศ์: APOCYNACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น ไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร ทรงพุ่มโปร่ง ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว
ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอก ปลายและโคนแหลม ขอบเรียบ แผ่นใบสีเขียวเป็นมัน
ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนง ตามซอกใบบริเวณปลายกิ่ง ดอกสีขาว โคนกลีบดอกเป็นหลอดยาว ปลายแยกเป็น 5 แฉก และบิดตามกันคล้ายกังหัน ดอกบานมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5-3 เซนติเมตร มีเกสรเพศผู้ 5 เกสร ดอกมีกลิ่นหอม ออกดอกตลอดปี
ผล เป็นฝักคู่ รูปโค้งมน ปลายแหลม ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร สีเขียวเข้มเหลือบส้ม เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีแดง เมื่อแก่ผลแตก มี 4-6 เมล็ด
ข้อมูลทั่วไป
มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย
การปลูกเลี้ยงและการใช้ประโยชน์
การปลูกเลี้ยง
ดินร่วน ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดจัด
การขยายพันธุ์
เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง
การใช้ประโยชน์
ปลูกประดับสวนให้กลิ่นหอม ปลูกเป็นไม้กระถาง