16 ก.พ.

พุดชมพู Kopsia fruticosa (Roxb.) A.DC.

วันที่บันทึกข้อมูล : 16 ก.พ. 2018 โดย : Editorial Team หมวดหมู่ : FAMILY APOCYNACEAE

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 2021 เวลา 20:32:57 น. โดย Editorial Team

จำนวนการเข้าชมหน้านี้ 6,039 views

พุดชมพู

ชื่อวิทยาศาสตร์: Kopsia fruticosa (Roxb.) A.DC.

ชื่อสามัญ: –

ชื่ออื่น: ตึ่งตาใส (ภาคเหนือ)  อุณากรรณ  เข็มอุณากรรณ

วงศ์: APOCYNACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้พุ่ม สูง 1-3 เมตร แตกกิ่งน้อย มักแตกกิ่งก้านไม่เป็นระเบียบ

ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปไข่แกมรูปใบหอกหรือรูปรี กว้าง 3.3-8 เซนติเมตร ยาว 7.5-18 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนเกือบมน ขอบเรียบ แผ่นใบสีเขียว

ดอก ออกดอกเป็นช่อ แบบช่อกระจุกประกอบ ตามซอกใบและปลายยอด ดอกสีชมพู แต่ละช่อประกอบด้วย 5-10 ดอก กลีบเลี้ยงขนาดเล็ก 5 กลีบ สีชมพูอมแดง กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดแคบยาว ปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปขอบขนาน ปลายมน ดอกตูมสีชมพูเข้ม กลางดอกสีชมพูเข้มเมื่อบาน มีเกสรเพศผู้ 5 เกสร ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน

ข้อมูลทั่วไป

มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน พม่า มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ในประเทศไทยพบขึ้นในป่าดิบบนเขาทางภาคใต้

การปลูกเลี้ยงและการใช้ประโยชน์

      การปลูกเลี้ยง

      ดินร่วน ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดจัด

      การขยายพันธุ์

      เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง

      การใช้ประโยชน์

      ปลูกเป็นไม้ประดับ