03 ส.ค.

บุษบาฮาวายด่าง Asystasia gangetica (L.) T.Anderson

วันที่บันทึกข้อมูล : 03 ส.ค. 2018 โดย : Editorial Team หมวดหมู่ : FAMILY ACANTHACEAE

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2021 เวลา 23:28:40 น. โดย Editorial Team

จำนวนการเข้าชมหน้านี้ 11,738 views

307

บุษบาฮาวายด่าง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Asystasia gangetica (L.) T.Anderson

ชื่อสามัญ: Chinese violet, Coromandel, Creeping foxglove

ชื่ออื่น: บาหยา ผักกูดเน่า (เชียงใหม่) ย่าหยา (กรุงเทพฯ)

วงศ์: ACANTHACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้พุ่มรอเลี้อย อายุหลายปี สูง 1-1.5 เมตร
ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่ถึงรูปหัวใจ กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 4-10 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนมนหรือเว้าเล็กน้อย ขอบเรียบถึงเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ขรุขระ เป็นมัน แผ่นใบสีเขียวมีด่างสีขาวถึงขาวนวล
ดอก ดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะ ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ยาว 16 เซนติเมตร ดอกสีขาว สีเหลือง หรือสีม่วงอ่อน ก้านดอกสั้นหรือไม่มีก้านดอก ทยอยบานจากโคนช่อขึ้นไป มีขนปกคลุม ใบประดับรูปสามเหลี่ยม ใบประดับย่อยรูปใบหอก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ด้านนอกมีต่อมขน และมีขนที่ขอบ โคนกลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอดยาว รูปกรวย ปลายแยก 5 แฉก ผิวด้านนอกมีขน ด้านในเรียบ กลีบรูปกึ่งกลมแกมรูปไข่กลับ กลีบกลางกางออกเล็กน้อย สีม่วงหรือสีออกม่วงเข้มอมน้ำตาล เกสรเพศผู้ 4 เกสร ก้านชูอับเรณูโค้งเข้าหากัน โคนเชื่อมติดบนหลอดกลีบดอก เกสรเพศเมียมีขนคล้ายกำมะหยี่ ออกดอกตลอดทั้งปี

ข้อมูลทั่วไป
มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ศรีลังกา

การปลูกเลี้ยงและการใช้ประโยชน์
การปลูกเลี้ยง
ดินร่วน ต้องการน้ำปริมาณปานกลาง แสงแดดปานกลาง
การขยายพันธุ์
ปักชำ

          การใช้ประโยชน์
นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ไม้คลุมดิน