ตีนเป็ดทราย Cerbera manghas L.
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 23 มี.ค. 2021 เวลา 16:27:23 น. โดย Editorial Team
จำนวนการเข้าชมหน้านี้ 2,138 views
301
ตีนเป็ดทราย
ชื่อวิทยาศาสตร์: Cerbera manghas L.
ชื่อสามัญ: Cerbera
ชื่ออื่น: ตีนเป็ดเล็ก (ทั่วไป) เทียนหนู เนียนหนู (สะตูล) ปงปง (พังงา) ปากเป็ด (ตราด) มะตากอ (มลายู นราธิวาส) รักขาว (จันทบุรี)
วงศ์: APOCYNACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น ไม้ต้นขนาดเล็ก อายุหลายปี เรือนยอดทรงกลม เปลือกลำต้นสีน้ำตาลอ่อน ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว
ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ ออกเป็นกระจุกแน่นที่ปลายกิ่ง รูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน ปลายแหลม โคนสอบ ขอบเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบหนาคล้ายแผ่นหนัง เกลี้ยง เป็นมัน ใบอ่อนสีแดงเข้ม ขอบใบ เส้นกลางใบ และก้านใบมีสีแดงอมม่วง ใบแก่แผ่นใบด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีซีดกว่า
ดอก ดอกเป็นช่อแบบช่อกระจุก ออกตามปลายกิ่ง ดอกสีขาว กลีบเลี้ยงรูปใบหอก 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน กลีบดอกรูปขอบขนาน โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก สีขาว มีแต้มสีแดงรอบปากหลอด ออกดอกตลอดปี
ผล รูปรีหรือรูปขอบขนาน สีเขียว เมื่อแก่มีสีแดง ผิวเกลี้ยง เป็นมัน
ข้อมูลทั่วไป
พบที่หมู่เกาะเซเชลส์ หมู่เกาะแปซิฟิกและออสเตรเลียตอนบน ในไทยพบทางภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้ ขึ้นตามชายฝั่งทะเล ป่าชายหาดหรือชายป่าดิบชื้น
การปลูกเลี้ยงและการใช้ประโยชน์
การปลูกเลี้ยง
ดินร่วนปนทราย ต้องการน้ำปริมาณปานกลาง แสงแดดมาก
การขยายพันธุ์
เมล็ด ตอนกิ่ง
การใช้ประโยชน์
นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ