21 มี.ค.

โมกใหญ่ (โมกหลวงสีชมพู) Holarrhena pubescens Wall. ex G.Don

วันที่บันทึกข้อมูล : 21 มี.ค. 2021 โดย : Editorial Team หมวดหมู่ : FAMILY APOCYNACEAE

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 2021 เวลา 20:31:53 น. โดย Editorial Team

จำนวนการเข้าชมหน้านี้ 709 views

โมกใหญ่

ชื่อวิทยาศาสตร์: Holarrhena pubescens Wall. ex G.Don

ชื่อสามัญ: –

ชื่ออื่น: โมกหลวงสีชมพู ซอทึ พอแก พุด พุทธรักษา มูกมันน้อย มูกมันหลวง มูกหลวง โมกเขา โมกทุ่ง โมกหลวง ยางพูด ส่าตึ หนามเนื้อ

วงศ์: APOCYNACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดกลาง สูงได้ถึง 15 เมตร แขนงมีขนสั้นนุ่มหรือเกือบเกลี้ยง ทุกส่วนมีน้ำยางขาว

ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรี กว้าง 2.4-11.5 เซนติเมตร ยาว 4.5-27 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลม โคนรูปลิ่ม มีขนสั้นนุ่มทั้งสองด้านถึงเกลี้ยง ก้านใบยาว 2-4 เซนติเมตร

ดอก เป็นช่อแบบช่อกระจุก ออกตามซอกใบ ดอกสีขาว กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปไข่ถึงรูปแถบ กลีบดอกรูปไข่กลับถึงรูปรี โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก เกสรเพศผู้ 5 เกสร รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ

ผล ผลแบบผลแตกแนวเดียว ห้อยลง เมล็ดเกลี้ยง มีกระจุกขนที่ปลายเมล็ด

ข้อมูลทั่วไป
ในประเทศไทยพบทางภาคตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ ในต่างประเทศพบที่ประเทศเคนย่า แอฟริกาตอนใต้ และอินเดีย

การปลูกเลี้ยงและการใช้ประโยชน์

          การปลูกเลี้ยง

          ดินร่วนซุย ต้องการน้ำปานกลาง ทนแล้ง ชอบแสงแดดปานกลางถึงแสงแดดจัด ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤศจิกายน

          การขยายพันธุ์

          การตอน เพาะเมล็ด ปักชำ

          การใช้ประโยชน์

          เป็นพืชสมุนไพร เปลือกและเมล็ด มีสรรพคุณทางยา