29 มิ.ย.

เล็บมือนาง Combretum indicum (L.) DeFilipps

วันที่บันทึกข้อมูล : 29 มิ.ย. 2017 โดย : Editorial Team หมวดหมู่ : FAMILY COMBRETACEAE

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 2021 เวลา 20:32:58 น. โดย Editorial Team

จำนวนการเข้าชมหน้านี้ 1,660 views

เล็บมือนาง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Combretum indicum (L.) DeFilipps

ชื่อสามัญ: Rangoon Creeper, Chinese honey Suckle, Drunken sailor

ชื่ออื่น: จะมั่ง จ๊ามั่ง มะจีมั่ง (เหนือ) อะดอนิ่ง (มลายู ยะลา)

วงศ์: COMBRETACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้พุ่มรอเลื้อย เนื้อค่อนข้างแข็ง แตกกิ่งก้านหนาทึบ มีขนสีน้ำตาลอมเทา กิ่งแก่มีหนาม เลื้อยได้ไกลมากกว่า 10 เมตร

ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอกหรือแกมรูปขอบขนาน ปลายแหลมหรือเรียวแหลมหรือมนและมีติ่งแหลม โคนมนหรือกลม ขอบเรียบ ใบบาง สีเขียว ใต้ใบมีขนปกคลุมจำนวนมาก

ดอก ช่อดอกออกที่ปลายกิ่งหรือตามซอกใบ กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดเล็ก ปลายแหลมแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดรูปทรงกระบอกยาว ปลายแยกเป็น 5 แฉก มีทั้งกลีบดอกชั้นเดียวและดอกซ้อน ดอกเริ่มบานมีสีขาวหรือสีชมพูอ่อน ดอกบานเต็มที่สีชมพูเข้ม ดอกย่อยทยอยบาน เมื่อใกล้โรยเปลี่ยนเป็นสีแดง

ข้อมูลทั่วไป

มีถิ่นกำเนิดในเอเชียเขตร้อน

การปลูกเลี้ยงและการใช้ประโยชน์

      การปลูกเลี้ยง

      ดินทุกชนิด ต้องการน้ำปานกลาง แสงแดดจัด

      การขยายพันธุ์

      เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง

      การใช้ประโยชน์

      ปลูกประดับเป็นซุ้มหรือรั้ว ริมทางเดิน หรือริมถนน ดอกสีสันสวยงาม มีกลิ่นหอม