29 มิ.ย.

มะลิลา Jasminum sambac (L.) Aiton

วันที่บันทึกข้อมูล : 29 มิ.ย. 2017 โดย : Editorial Team หมวดหมู่ : FAMILY OLEACEAE

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 2021 เวลา 20:53:46 น. โดย Editorial Team

จำนวนการเข้าชมหน้านี้ 3,939 views

มะลิลา

ชื่อวิทยาศาสตร์: Jasminum sambac (L.) Aiton

ชื่อสามัญ:  Arabian Jasmine, Jusmine, Kampopot

ชื่ออื่น: มะลิป้อม มะลิหลวง ข้าวแตก เตียมุน มะลิขี้ไก่

วงศ์: OLEACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้พุ่มกึ่งเลื้อย สูง 0.3-3 เมตร กิ่งอ่อนสีเขียวมีขนสั้น กิ่งแก่สีน้ำตาลอ่อน

ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่รีหรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายแหลม โคนมนหรือสอบ ขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบเป็นมัน ด้านท้องใบเห็นเส้นใบชัดเจน เส้นใบขนาดใหญ่มี 4-6 คู่ ก้านใบสั้นและมีขน

ดอก ช่อดอกแบบช่อกระจุก ช่อละ 3 ดอก ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกชั้นเดียว โคนกลีบดอกจะเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5-8 แฉก ดอกที่อยู่ตรงกลางจะบานก่อน แต่ละดอกมีกลีบเลี้ยงเป็นหลอดสีเขียวอมเหลืองอ่อน ส่วนปลายแยกเป็นเส้น เกสรเพศผู้ 2 เกสร ติดกับกลีบดอกในหลอดสีขาว ออกดอกได้เกือบตลอดทั้งปี แต่จะออกดอกมากในช่วงฤดูร้อนและฤดูฝน

ข้อมูลทั่วไป

      เป็นพันธุ์ไม้ต่างประเทศ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย

การปลูกเลี้ยงและการใช้ประโยชน์

      การปลูกเลี้ยง

      ดินร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี ต้องการน้ำปานกลางหรือน้ำน้อย แสงแดดจัด

      การขยายพันธุ์

      ปักชำ ตอนกิ่ง

      การใช้ประโยชน์

      นิยมปลูกเป็นไม้กระถาง หรือปลูกลงแปลง ดอกมีกลิ่นหอม