02 ก.ค.

โกสนขุนช้างกินเลี้ยง Codiaeum variegatum (L.) Rumph. ex A.Juss.

วันที่บันทึกข้อมูล : 02 ก.ค. 2017 โดย : Editorial Team หมวดหมู่ : FAMILY EUPHORBIACEAE

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 2021 เวลา 20:53:44 น. โดย Editorial Team

จำนวนการเข้าชมหน้านี้ 3,168 views

โกสนขุนช้างกินเลี้ยง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Codiaeum variegatum (L.) Rumph. ex A.Juss.

ชื่อสามัญ: Croton, Variegated Laurel, Garden Croton

ชื่ออื่น: ช้างกินเลี้ยง โกรต๋น กรีกะสม กรีสาเก

วงศ์: EUPHORBIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้พุ่มขนาดกลาง แตกกิ่งก้านเป็นทรงพุ่มค่อนข้างแน่น

ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับค่อนข้างถี่ รูปรีถึงขอบขนาน เป็นคลื่นบิดเล็กน้อย ก้านใบสั้น ปลายมนอาจเว้าที่ปลายใบ โคนมัน ใบหนาเป็นมันคล้ายแผ่นหนัง ใบด้านล่างสีเขียวแต้มสีแดงและเหลือง เส้นใบสีแดง ใบบริเวณกลางต้นสีแดงเป็นส่วนใหญ่ ใบอ่อนสีเหลือง หลังใบที่ปลายสุดของเส้นกลางใบมีรยางค์ ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ใบยาวประมาณ 7.5 เซนติเมตร กว้างประมาณ 4.3 เซนติเมตร

ดอก ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกสีขาว ช่อดอกเพศผู้โค้งลง ก้านช่อค่อนข้างยาว มี 30-60 ดอก กลีบเลี้ยงขนาดเล็ก มี 3-6 กลีบ กลีบดอก 5-6 กลีบ ดอกมีขนาดเล็กประมาณ 3 มิลลิเมตร ช่อดอกเพศเมียตั้งตรง ก้านช่อยาว มี 10-20 ดอก ไม่มีกลีบดอก มีแต่กลีบเลี้ยง

ผล ผลค่อนข้างกลมขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร มี 2-3 พู เมื่อแก่ผลแตกได้ เมล็ดสีน้ำตาล มี 2-3 เมล็ด แต่ละพูมี 1 เมล็ด

ข้อมูลทั่วไป

เป็นพันธุ์ไม้ต่างประเทศ มีถิ่นกำเนิดไม่แน่ชัด แต่ปลูกกระจายทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย และแถบหมู่เกาะแปซิฟิก

การปลูกเลี้ยงและการใช้ประโยชน์

      การปลูกเลี้ยง

      ดินร่วน ต้องการน้ำปานกลาง แสงแดดจัดหรือแสงแดดครึ่งวัน

      การขยายพันธุ์

      เพาะเมล็ด ปักชำ ตอนกิ่ง

      การใช้ประโยชน์

      นิยมปลูกประดับกลางแจ้งเพื่อสร้างสีสัน