ปาล์มสิบสองปันนา Phoenix loureiroi Kunth
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2021 เวลา 23:32:06 น. โดย Editorial Team
จำนวนการเข้าชมหน้านี้ 7,948 views
754
ปาล์มสิบสองปันนา
ชื่อวิทยาศาสตร์: Phoenix loureiroi Kunth
ชื่อสามัญ: Dwarf date palm
ชื่ออื่น: เป้งดอย (ภาคเหนือ)
วงศ์: ARACECEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น พืชจำพวกปาล์ม สูง 1.5-2.5 เมตร ลำต้นแข็ง ทรงกระบอก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 15-30 ซม. มีใบแห้งและกาบใบปกคลุมหนาแน่น โคนต้นมีรากค้ำจุนจำนวนมาก
ใบ ใบประกอบแบบขนนก มี 35-75 ใบย่อย ออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 2-4 ใบ รูปแถบ กว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ปลายแหลมแข็ง โคนสอบ ขอบเรียบ แผ่นใบด้านบนสีเขียว ใต้ใบสีเทาอมเขียว มีนวล บริเวณเส้นใบมีหนามแหลม
ดอก ดอกเป็นช่อ ออกระหว่างกาบใบ แยกเพศอยู่ต่างต้น ช่อตั้งตรง ดอกย่อยอัดกันแน่น ดอกสีขาวนวลถึงเหลือง ขนาดเล็ก ช่อดอกเพศผู้ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร มีกาบรูปเรือรองรับ ช่อดอกเพศเมียยาวประมาณ 50 เซนติเมตร แผ่กว้างคล้ายไม้กวาด
ข้อมูลทั่วไป
มีถิ่นกำเนิดในภาคเหนือของไทยและประเทศในแถบอินโดจีน พบในป่าสนหรือป่าเต็งรัง และทุ่งหญ้าที่มีน้ำขัง ทางภาคเหนือ ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 200-1,300 เมตร
การปลูกเลี้ยงและการใช้ประโยชน์
การปลูกเลี้ยง
ดินร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี ต้องการน้ำปริมาณปานกลาง แสงแดดปานกลาง
การขยายพันธุ์
เพาะเมล็ด
การใช้ประโยชน์
นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ